Customer Relationship Management (CRM)
การ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้บุคลากรหรือประสบการณ์ของแต่ละคนด้วย เพื่อสร้างลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเก่าไว้ เช่น ตลาดมือถือ ที่ค่อนข้างหาลูกค้าใหม่ยากแล้วต้องรักษาฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่แล้ว
เป้าหมายของ CRM
: ไม่ได้หมายถึงการบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า เช่น Amazon ที่ จะเก็บข้อมูลการซื้อของเพื่อนำเสนอสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือรายการที่น่าจะ ดึงดูดความสนใจของลูกค้า
ประโยชน์ของ CRM
- มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer Behavior สามารถนำมาทำ Data Warehouse และ Data Mining ต่อได้เป็นอย่างดี
- วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม เกี่ยวกับความพร้อมในด้านของข้อมูลเพื่อสร้างรายได้
- ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
- เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
- ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน
ซอฟต์แวร์บริหารลูกค้าสัมพันธ์
1) ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย
- ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
- ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing ถือว่าสำคัญมากเพราะว่าไม่ได้เจอลูกค้าจริง ต้องมีฐานข้อมูลที่ติดต่อกันได้ผ่านเวบไซต์ ซึ่งเป็นการใช้ระบบสารสนเทศบนสมมติฐานว่าลูกค้าในปัจจุบันมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีมากพอ
- ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
2) ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ซึ่ง สามารถลดต้นทุนและความผิดพลาดได้ค่อนข้างมากว่าจะต้องติดต่อหรือประสานงาน ต่อไปที่ด้านใด ในปัจจุบันใช้มากในต่างประเทศ ในประเทศไทยยังไม่นิยม เนื่องจากแรงงานในประเทศไทยยังมีต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำและยังไม่มีทักษะด้านภาษามากพอที่จะให้บริการเช่นนี้กับบรษัทต่างประเทศหรือใน ประเทศไทยเองได้ ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
3) ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบ ด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สนับสนุนการรณรงค์การทำตลาดโดยตรง
4) การขายในระดับเดียวกัน (Cross selling) – ลูกค้าบัตร credit ได้สิทธิพิเศษมากยิ่งขึ้น
5) การขายแบบชุด (Bundling) – การขายรวมสินค้าหลายๆอย่าง
ประโยชน์ในการทำ Data Warehouse เพื่อ เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆภายในบริษัท เช่น บริษัทบัตรเครดิต มีข้อมูลที่แบ่งตามช่วงวัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน รวมทั้งการทำ Data Mining ที่เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลย่อยลงมา นอกจากนี้ การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line analytical processing; OLAP) เช่น บัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า ที่ให้คูปองและส่วนลดในการซื้อครั้งต่อไปได้
Classification of CRM Applications
- Customer facing ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง เช่น call center, help desks. sales force automation
- Customer-touching ลูกค้าติดต่อกับ application เช่น self-service, campaign management, general purpose e-business applications.
- Customer-centric intelligence
- Online networking
Level & Types of e-CRM
- Foundational sevice เป็นอย่างน้อยที่ต้องมี เช่น การบริการทางเว็บไซต์
- Customer-centered services เช่นมี order tracking รู้ว่าสินค้่าอยู่ไหนแล้ว หรือลูกค้าสามารถเลือกแบบสินค้าได้ด้วยตนเอง เช่น รถยนต์ รองเท้า
- Value-added services เช่น online auctions, online training &education
- Loyalty programs อาจให้ผู้บริโภคเป็น membership
Tools for Customer Service
- สามารถตกแต่งเว็บเพจเพื่อใช้ในการบันทึกการซื้อ
- FAQs มันใช้ติดต่อกับคำถามลูกค้าที่มาเป็นประจำ
- Email & automated response เพื่อตอบกลับลูกค้าโดยอัตโนมัติ โดยแจ้งว่าได้รับอีเมล์จริง
- Chat rooms ให้ลูกค้าสามารถคุยกันได้
- Live chat
- Call centers
การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ และ Social media
เช่น การทำผ่าน facebook Hi5 twitter Youtube
Knowledge management system (KMS)
การจัดการความรู้ คือการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรุ้เกิดการพัฒนาตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ่้นในองค์กร
ประโยชน์ของการบริหารความรู้
- เข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่าย พนักงานสามารถเรียนรู้งานได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และต่อยอดความรุ้ได้
- ลดจำนวนการผิดซ้ำ
- ความรู้ไม่สูญหายไปจากองค์กร
- ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง
สร้าง KM ได้อย่างไร
- สร้างฐานความรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว
- สร้าง knowledge network ให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงและแบ่งปันความรู้ได้อย่างทั่วถึง
ลำดับขั้นตอนของความรู้
- ข้อมูล
- สารสนเทศ
- ความรุ้
- ความชำนาญ
- ความสามารถ
การสร้างความรู้
Socialization
- กระบวนการนี้เน้นไปทาง tacit knowledge to tacit knowledge
- เป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต
Externalization
- กระบวนการนี้เน้นไปทางเปลี่ยน tacit knowledge เป็น explicit knowledge
- ให้คนมีความรู้ฝังลึก ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (knowledge sharing)
Combination
- กระบวนการเปลี่ยน explicit knowledge ไปเป็น explicit knowledge เสมือนการหาความรู้เพิ่ม.
- เช่น แผนกการเงินรวบรวมข้อมูลทางการเงินมาจากทุกแผนก และเตรียมรายงานงบการเงิน
Internalization
- explicit knowledge ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ tacit knowledge
- คือความรู้ก็กลับเป็นความรู้ของผู้ใช้
กระบวนการของการจัดการความรู้ Turvan et al., 2005
- การสร้างความรู้
- การจัดและเก็บความรู้
- การเลือกหรือกรองความรู้
- การกระจายความรู้
- การใช้ความรู้
- การตรวจสอบความรู้
(จากนั้นจึงวนกลับไปตั้งแต่กระบวนการแรก)
หรือ
- การระบุถึงความรู้
- การจัดหาความรู้
- การพัฒนาความรู้
- การแบ่งปันหรือกระจายความรู้
- การใช้ความรู้
- การเก็บ/จดความรู้