วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Web 2.0 -5202112685

Web2.0
ใช้ความร่วมมือระหว่างลูกค้า  ,suppliers , partner, internal users
ช่วย Business process และช่วยในการ marketing เช่น  facebook.com

Web2.0 Characteristics
  • ช่วยทำให้เข้าถึง intelligence ของ users ได้
  • ข้อมูลถูกนำไปใช้ในทางใหม่ๆ  เช่น การลง VDO ใน Youtube ทำให้เกิดกระแส  หรือใช้เป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • มักทำให้เป็น user interactive และออกแบบให้มีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย
  • เน้นไปทางด้าน social network
Social Bookmark เป็นลักษณะของ community webpage  แบบหนึ่งเพื่อให้ผู้ใช้ สามารถ submit bookmark ที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจ  ตาม category และจะมี users อื่นๆมา โหวตเรื่องที่น่าสนใจ  เพื่อให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านได้


Category of Virtual community
  • Communication  เช่น Board, Chat room. Email, msn, Blogging. wikis. mush ups, Web postings. Voting 
  • Information   เช่น Yellow pages , Search engines
  • EC element เช่น   Electronic catalogs and shopping carts , Advertisements , Auctions , Classified Ads
Community type of Virtual community
  • Transaction and other business  ช่วยในการซื้อการขายให้เป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น
  • Purpose of interest  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสิ่งที่สนใจร่วมกัน
  • Relation or practices  สมาชิคที่ใช้จะอยู่ในกลุ่มอายุ  หรือกลุ่มๆหนึ่ง  เช่น  กลุ่มผู้หญิง  กลุ่มsenior
  • Fantasy 
  • Social network
  • Virtual world 
Issues for social network
  • ขาดความเป็นส่วนตัว
  • เกิดคำแสลง
  • อาจทำให้เกิดการทะเลาะกันในอินเตอร์เนต
Enterprise Social network characteristic
  • จำกัดคนเข้า
  • มีความสนใจร่วมกัน
  • เป็นแหล่งของข้อมูลและช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างง่ายขึ้น

Retailer benefit 
  • ทำให้พอจะรู้แนวทางว่าลูกค้าอยู่กลุ่มไหน  และจะเข้าถึงได้อย่างไร
  • Viral marketing การทำ marketing ผ่านสื่อออนไลน์หรือผ่านทาง web 2.0
  • ทำให้สามารถเพิ่มยอดขายได้
Robotics
  • เข้ามามีส่วนร่วมทั้งด้าน กีฬา สงคราม  ยา  ธุรกิจ  บันเทิง  กิจกรรยามว่าง
  • Nonrobot จะเน้นไปที่การตัดสินใจครั้งสำคัญและยาก
  • เริ่มเข้ามาแทนที่มนุษย์อย่างรวดเร็ว
Telemedicine & Telehealth
  • แ้ก้ไขปัญหาจากการที่มีผู้ป่วยมากขึ้น  โดยแพทย์สามารถรักษาได้จากระยะไกล  และมีต้นทุนต่ำ  ลดระยะเวลาในการเิดินทาง
  • ใช้ telecommunication networksให้บริการทางด้านยาและสุขภาพ 
  • แพทย์สามารถดูข้อมูลและภาพผ่าน wireless technologies และยังสามารถเข้าถึงบันทึกคนไข้ได้
Wireless sencor network
  • ช่วยเวลาเมื่อการจราจรคับคั่ง  หรือเรื่องที่จอดรถ
Offshore outsourcing
  • เช่น Call center  ,Software development,engineering &design work , financial analysis, market research
  • ประเด็นเรื่อง  ความเป็นส่วนตัว  ข้อมูลสำคัญ 
Presence  Location Privacy
  • ทำให้รู้ว่าเพื่อนอยู่ที่ไหน  กำลังทำอะไรอยู่
Green computing -Enterprise need to...
  • การรีไซเคิล  การประหยัดพลังงาน
  • มีสถาบันสนันสนุนเรื่องนี้ ทั้ง supply chain
Information overload
  • การพัฒนาเทคโนโลยีทำให้ข้อมุลจำนวนมากถูกเก็บ  และเกิดปัญหาด้านที่ข้อมุลมากเกินไป  กลายเป็นได้ข้อมูลมามากแต่ใช้ประโยชน์ได้เล็กน้อยเท่านั้น



วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความเสี่ยงของระบบสารสนเทศและจรรยาบรรณ-5202112685

ความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ  
หมายถึง เหตุการ์ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียหรือทำลายฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  ข้อมูล  สารสนเทศ  หรือความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของระบบ

ประเภทของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
  • แฮกเกอร์  (Hacker) คนที่เข้าไปเจาะข้อมูล 
  • แครกเกอร์ (Cracker)
  • ผู้ก่อให้เกิดภัยมือใหม่  (Script Kiddies)
  • ผู้สอดแนม (Spies)
  • เจ้าหน้าที่ขององค์กร  (Employees)
  • ผุ้ก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์  (Cyberterrorist)

การโจมตีระบบเครือข่าย /ประเภทของความเสี่ยง
  • การโจมตีขั้นพื้นฐาน (Basic Attacks)  เช่น  กลลวงทางสังคม  และรื้อค้นเอกสารทางคอมพิวเตอร์จากที่ทิ้งขยะ
  • การโจมตีด้านคุณลักษณะ (Identity Attacks) เช่น DNS Spoofing และ email spoofing  การเลียนแบบว่าเป็นอีกคนนึง  เช่น อีเมล์ไวรัส  ปลอมแปลงว่ามาจากอีกคนนึง  ลวงให้ผู้ใช้กด link เข้าไปเพื่อลวงเอาข้อมูล  หรือรหัสในการทำธุรกรรม
  • การปฏิเสธการให้บริการ(Denial of Service หรือ DoS)  เช่น  Distributed denial-of-service (DDoS), DoSHTTP (HTTP Flood Denial of Service)  
  • การโจมตีด้วยมัลแวร์  (Malware)  โปรแกรมมุ่งร้ายที่โจมตีการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์   ประกอบด้วยไวรัส  เวิร์ม  โทรจันฮอร์ส  และลอจิกบอมบ์  จะเป็นพวกเมื่อถึงเวลาจะทำงานมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์
  • และโปรแกรมมุ่งร้ายที่โจมตีความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ  ที่มีชื่อเรียกว่า  สปายแวร์  ประกอบด้วย แอดแวร์,  พิชชิง,   Keyloggers ซึ่งสามารถบอกได้ว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์พิมอะไรบ้าง  มีทั้งที่เป็นซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์  , การเปลี่ยนปรับแ่ต่งระบบ 
  • การเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต  หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่มีสิทธิ  ซึ่งส่วนมากจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์หรือข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำกิจกรรมบางอย่างที่ผิดกฎระเบียบของกิจการหรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย
  • การขโมย ฮาร์ดแวร์ ซึ่งมักอยู่ในรูปของการตัดสายเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  หรือขโมยฮาร์ดแวร์  เช่น  การขโมยสื่อจัดเก็บซอฟต์แวร์  การลบโปรแกรมโดยตั้งใจ  และการทำสำเนาโปรแกรมอย่างผิดกฎหมาย  หรือการขโมยสารสนเทศ  มักอยู่ในรูปของการขโมยข้อมุลที่เป็นความลับส่วนบุคคล
  • ความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ  เช่น เสียง  แรงดันไฟฟ้าต่ำ  แรงดันไฟฟ้าสูง
 ตัวอย่าง 
  • การเข้าเว็บเพจที่ถูก spoof เช่นพิมผิด  จะไปเข้าเว็บไซตฺนึง  แต่กลับเข้าไปอีกเว็บไซต์  ที่เค้าพยายามปลอมแปลงให้เข้าใจผิด  เพื่อลวงเอา user name & password (Phishing)
  •  IP Spoofing 
  • Distributed denial of service  เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ  มักมีไวรัสติดไปในเครื่อง  และจะตั้งเวลาไว้ว่าเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง  เมื่อคอมพิวเตอร์ยังออนไลน์อยู่  ก็จะส่งรีเควสไปที่เว็บไซต์เป้าหมาย อาจเพื่อเป็นการลองวิชา  หรือ  ลดความเชื่อถือของบริษัทคู่แข่ง
  • กลุ่มข้อมูลที่จัดส่งไปยังเว็บ  สามารถดูได้ว่า IP นี้ได้เข้าไปใช้เว็บไซต์ใดบ้าง  บางทีอาจรุ้ถึง password ซึ่งอาจเป็นการละเมิดสิทธิ
  • การเจาะฐานข้อมูลของเซิฟเวอร์  เพื่อนำข้อมูลพวก user name & password เช่นพวกบริษัทบัตรเครดิตต่างๆ

การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
  • ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและปรับปรุง Virus signature
  • ติดตั้ง Firewall
  • ติดตั้งซอฟต์แวร์ตรวจจับการบุกรุก  ดูว่าคนที่เข้ามาใช้ระบบ หรือใช้เว็บไซต์มาจากไอพีแอดเดรสไหน
  • ติดตั้ง Honeypot  ตั้งระบบป้องกันไว้หลอกๆ  โดยตั้ง Demilitarized Zone(DMX)   คือ  หากมีไอพีแอดเดรสแปลกๆมาก็จะป้องกันไม่ใ้ห้เข้า  จากนั้นถ้าหลุดขั้นแรกจะเจอ firewall อีกชั้นหนึ่ง
  • การควบคุมการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต
    •  การระบุตัวตน
    • การพิสูจน์ตัวจริง  เช่น รหัสผ่าน   ข้อมูลที่ทราบเฉพาะบุคคลที่เป็นเจ้าของ  ใช้บัตรผ่านที่มีลักษณะเป็นบัตรประจำตัว  (ex. ATM) ลักษณะทางกายภาพของบุคคล  เช่น  ม่านตา  เป็นตัน
    • การควบคุมการเข้าถึงทางกายภาพ  เช่นปิดห้องและหน้าต่าง
    • กิจการบางแห่งนำระบบ Real time location system (RTLS)  มาใช้เพื่อระบุสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูงโดยนำ RFID tags ติดที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการติดตามอุปกรณฺนั้นๆ
    • ปัจจุบันมีการออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถควบคุมการเปิดเครื่องและการเข้าใช้งาน
    • เก็บรักษาแผ่นซอฟต์แวร์ในสถานที่มีการรักษาความปลอดภัย
    • ในกรณีที่มีโปรแกรมเมอร์ลาออกหรือถูกให้ออก  ต้องควบคุมแลติดตามโปรแกรมเมอร์ทันที (Escort) 
    • การเข้ารหัส  คือ กระบวนการในการแปลงหรือเข้ารหัสข้อมูลที่อยู่ในรูปที่คนทั่วไปสามารถอ่านได้  ให้อยู่ในรูปที่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น สามารถอ่านข้อมุลได้  เช่น  การเข้ารหัสแบบสลับตำแหน่ง 
      • องค์ประกอบของการเข้ารหัส ไ้ด้แก่ Plaintext  Algorithm  Secure key
      • การเข้ารหัสแบบไม่สมมาตร  คือเวลาส่งข้อความหากันระหว่างคอมพิวเตอร์  ก็จะมีคีย์ลับ  อาจจะเอาเลขมาเปลี่ยนเป็นตัวอักษร  หรือเปลี่ยนเป็น symbol  แต่พอไปเครื่องที่สองของคนรับก็จะมีำไฟล์ที่เป็นคีย์  ที่ทำให้อ่านออกได้
  •   การรักษาความปลอดภัยอื่นๆ 
    • Secure sockets layer (SSL) โดยเว็บเพจที่ใช้ SSL จะขึ้นต้นด้วย https แทนที่จะเป็น http ก่อนที่จะส่งข้อมูลสำคัญ  หรือทำธุรกรรมทางการเงิน
  • Secure HTTP (S-HTTP) เช่น  ระบบธนาคารออนไลน์จะใช้ S-HTTP
  • Virtual private network  (VPN)  เช่นเวลาอยู่ที่นึง  จะสามารถเข้าืเนตเวิคเข้ามหาลัยได้ ก็ต้องผ่าน VPN  (พวก username password)
  • การควบคุมความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ  เช่น การป้องกันแรงดันไฟฟ้าใช้ Surge protector
  • ไฟฟ้าดับใช้ Uninterruptible power supply (UPS)
  • กรณีระบบสารสนเทศถูกทำลาย  การควบคุมทำโดยการจัดแผนการทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมจากภัยพิบัติ  (Disaster Recovery-DR) หรือ Business continuity planning (BCP)
  • การสำรองข้อมูล
  • การรักษาความปลอดภัยของแลนไร้สาย 
จรรยาบรรณ
  • จรรยาบรรณทางคอมพิวเตอร์  คือหลักปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ระบบสารสนเทศ  ซึ่งประกอบด้วย
    • การใช้คอมพิวเตอร์  และเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
    • การขโมยซอฟแวร์ (การละเมิดลิขสิทธิ์๗
    • ความถูกต้องของสารสนเทศ เช่นการตกแต่งรูปภาพ
    • สิทธิ์ต่อทรัพย์สินทางปัญญา
    • หลักปฏิบัติ
    • ความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

CRM KMS 5202112685

Customer Relationship Management (CRM)   
การ สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้บุคลากรหรือประสบการณ์ของแต่ละคนด้วย เพื่อสร้างลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเก่าไว้ เช่น ตลาดมือถือ ที่ค่อนข้างหาลูกค้าใหม่ยากแล้วต้องรักษาฐานลูกค้าเดิมที่มีอยู่แล้ว

เป้าหมายของ CRM
: ไม่ได้หมายถึงการบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า เช่น Amazon ที่ จะเก็บข้อมูลการซื้อของเพื่อนำเสนอสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือรายการที่น่าจะ ดึงดูดความสนใจของลูกค้า

ประโยชน์ของ CRM
  1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer  Behavior สามารถนำมาทำ Data Warehouse และ Data Mining ต่อได้เป็นอย่างดี
  2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม เกี่ยวกับความพร้อมในด้านของข้อมูลเพื่อสร้างรายได้
  3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
  4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
  5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน

ซอฟต์แวร์บริหารลูกค้าสัมพันธ์
1)      ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย
-  ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
-  ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing ถือว่าสำคัญมากเพราะว่าไม่ได้เจอลูกค้าจริง ต้องมีฐานข้อมูลที่ติดต่อกันได้ผ่านเวบไซต์ ซึ่งเป็นการใช้ระบบสารสนเทศบนสมมติฐานว่าลูกค้าในปัจจุบันมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีมากพอ
-  ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
2)      ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ซึ่ง สามารถลดต้นทุนและความผิดพลาดได้ค่อนข้างมากว่าจะต้องติดต่อหรือประสานงาน ต่อไปที่ด้านใด ในปัจจุบันใช้มากในต่างประเทศ ในประเทศไทยยังไม่นิยม เนื่องจากแรงงานในประเทศไทยยังมีต้นทุนที่ค่อนข้างต่ำและยังไม่มีทักษะด้านภาษามากพอที่จะให้บริการเช่นนี้กับบรษัทต่างประเทศหรือใน ประเทศไทยเองได้ ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
3)      ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบ ด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สนับสนุนการรณรงค์การทำตลาดโดยตรง
4)      การขายในระดับเดียวกัน (Cross selling) – ลูกค้าบัตร credit ได้สิทธิพิเศษมากยิ่งขึ้น
5)       การขายแบบชุด (Bundling) – การขายรวมสินค้าหลายๆอย่าง
ประโยชน์ในการทำ Data Warehouse เพื่อ เชื่อมโยงข้อมูลต่างๆภายในบริษัท เช่น บริษัทบัตรเครดิต มีข้อมูลที่แบ่งตามช่วงวัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน รวมทั้งการทำ Data Mining ที่เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลย่อยลงมา นอกจากนี้ การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line analytical processing; OLAP) เช่น บัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า ที่ให้คูปองและส่วนลดในการซื้อครั้งต่อไปได้

Classification of CRM Applications
  • Customer facing  ติดต่อกับลูกค้าโดยตรง  เช่น call center, help desks. sales force automation
  • Customer-touching  ลูกค้าติดต่อกับ application  เช่น self-service, campaign management, general purpose e-business applications.
  • Customer-centric intelligence 
  • Online networking
Level & Types of e-CRM
  • Foundational sevice  เป็นอย่างน้อยที่ต้องมี  เช่น  การบริการทางเว็บไซต์
  • Customer-centered services  เช่นมี order tracking รู้ว่าสินค้่าอยู่ไหนแล้ว  หรือลูกค้าสามารถเลือกแบบสินค้าได้ด้วยตนเอง  เช่น รถยนต์  รองเท้า
  • Value-added services  เช่น online auctions, online training &education
  • Loyalty programs  อาจให้ผู้บริโภคเป็น membership
Tools for Customer Service
  • สามารถตกแต่งเว็บเพจเพื่อใช้ในการบันทึกการซื้อ  
  • FAQs มันใช้ติดต่อกับคำถามลูกค้าที่มาเป็นประจำ
  • Email & automated response  เพื่อตอบกลับลูกค้าโดยอัตโนมัติ  โดยแจ้งว่าได้รับอีเมล์จริง
  • Chat rooms   ให้ลูกค้าสามารถคุยกันได้
  • Live chat       
  • Call centers
 การบริหารลูกค้าสัมพันธ์  และ Social media
เช่น  การทำผ่าน facebook  Hi5  twitter Youtube


Knowledge management system  (KMS)
การจัดการความรู้  คือการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล  เอกสาร  สื่อ  มาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรุ้เกิดการพัฒนาตนเอง  และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน  สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร  ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ่้นในองค์กร


ประโยชน์ของการบริหารความรู้ 
  • เข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่าย  พนักงานสามารถเรียนรู้งานได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่  และต่อยอดความรุ้ได้
  • ลดจำนวนการผิดซ้ำ
  • ความรู้ไม่สูญหายไปจากองค์กร
  • ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง
สร้าง KM ได้อย่างไร
  • สร้างฐานความรู้  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว
  • สร้าง knowledge network  ให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงและแบ่งปันความรู้ได้อย่างทั่วถึง
ลำดับขั้นตอนของความรู้
  1. ข้อมูล
  2. สารสนเทศ
  3. ความรุ้
  4. ความชำนาญ
  5. ความสามารถ
การสร้างความรู้
Socialization
  • กระบวนการนี้เน้นไปทาง tacit knowledge to tacit knowledge
  • เป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต  
Externalization  
  • กระบวนการนี้เน้นไปทางเปลี่ยน tacit knowledge เป็น explicit knowledge  
  • ให้คนมีความรู้ฝังลึก  ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (knowledge sharing)
Combination
  • กระบวนการเปลี่ยน explicit knowledge  ไปเป็น explicit knowledge เสมือนการหาความรู้เพิ่ม.
  • เช่น  แผนกการเงินรวบรวมข้อมูลทางการเงินมาจากทุกแผนก  และเตรียมรายงานงบการเงิน
Internalization  
  • explicit knowledge  ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ tacit knowledge
  • คือความรู้ก็กลับเป็นความรู้ของผู้ใช้

กระบวนการของการจัดการความรู้ Turvan et al., 2005
  • การสร้างความรู้
  • การจัดและเก็บความรู้
  • การเลือกหรือกรองความรู้
  • การกระจายความรู้
  • การใช้ความรู้
  • การตรวจสอบความรู้
(จากนั้นจึงวนกลับไปตั้งแต่กระบวนการแรก)

หรือ
  • การระบุถึงความรู้
  • การจัดหาความรู้
  • การพัฒนาความรู้
  • การแบ่งปันหรือกระจายความรู้
  • การใช้ความรู้
  • การเก็บ/จดความรู้

วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Strategic Information System Planning-5202112685

Business Intelligence -(Cont.)
Web mining  
         เป็นการเพิ่มความสามารถของเว็บไซต์  ให้สามารถเก็บข้อมูล  และพฤติกรรมของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์  สำหรับนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์  สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้  เช่น  แนะนำลิงค์ที่เกี่ยวข้อง  หรือ แนะนำสินค้าใหม่ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของลูกค้านั้นๆ  ทั้งนี้สามารถทำได้ใน 3 รูปแบบ  ดังนี้
  1. Web content mining  ดูว่าเนื้อหาที่อยู่ในเว็บมีอะไรบ้าง
  2. Web structure mining  ดูโครงสร้างว่าในหน้าเว็บมีเนื้อหา และ ลิงค์อะไรบ้าง  
  3. Web usage mining  ดูว่าผู้เยี่ยมชมเว็บมีพฤติกรรม หรือความสนในอะไรในหน้าใดเป็นพิเศษ  ดู click stream ซึ่งบอกว่าคนๆนี้สนใจอะไรบ้าง  บอกว่าไปตรงหน้าไหนบ้าง
ตัวอย่างเช่น Amazon.com ที่website จะสามารถบอกว่าลูกค้าที่เคยใช้บริการเป็นประจำเคยซื้อสินค้าใดไปบ้าง  และมีคำแนะนำไว้สำหรับลูกค้า  ซึ่งคำแนะนำนี้ขึ้นกับพฤติกรรมของลูกค้า


Strategic Information System Planning
IS/IT Planning  คือการวางแผนว่าในระบบควรมี IT infrastructure  และ application portfolio  อะไรบ้าง  ควรมีเมื่อใด  และอย่างไร สำหรับในทุกระดับขององค์กร

Four-stage planning model  
  1. Strategic planning  เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่าง plan ขององค์กรกับ plan ของ IT  
    •  ประเมินสภาพแวดล้อม  เช่น ความสามารถของ IS ที่มีอยู่ในปัจจุบัน  โอกาสใหม่ๆ  ธุรกิจในปัจจุบัน  เทคโนโลยีใหม่ๆ  ทักษะทางบุคคลที่มีเกี่ยวกับ IS 
    •  ประเมินอนาคตขององค์กร  โดยสามารถดูจากกลยุทธ์ขององค์กร
    •  ตั้งเกี่ยวกับนโยบายของ IS  วัตถุประสงค์  และกลยุทธ  ซึ่งทำให้ทราบว่าองค์กรให้ความสำคัญกับ IS มากเพียงใด  สามารถสังเกตได้จากโครงสร้างขององค์กร
  2. Infornation requirements analysis   เป็นการบอกว่าเพื่อให้กลยุทธ์เกิดขึ้นได้  จำเ็ป็นต้องใช้สารสนเทศอะไร
    • ทำการวิเคราะห์ความต้องการ IS ขององค์กร  ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
    • เอามาผสมกับ plan ดูว่าข้อมูลที่ต้อการจำเป็นต้องใช้ระบบอะไรบ้าง  และพิจารณาว่าแต่ละกลยุทธ์ควรทำตอนไหน  Project ไหนสำคัญกว่า
  3. Resource allocation บอกว่าต้องใช้ Hardware Software อะไรบ้าง  
    •  เป็นการประเมินทรัพยากรที่ต้องใช้กับตัว IS ที่นำเสนอว่าจำเป็นต้องใช้ Hardware Software อะไรบ้าง    รวมทั้งเจ้าหน้าที่ดูแล  เครื่องอำนวยความสะดวก  แผนงบประมาณต่างๆ
  4. Project planning  พัฒนาแผน  และวางตารางเวลา ทรัพยากรที่ต้อใช้ในแต่ละโครงการ
    • ประเมินความคุ้มค่าของโครงการ  ซึ่งหากประเมินแล้วไม่คุ้มค่าก็จำเป็นต้องนำกลับไปปรับปรุงในขั้นตอนการทำการวิเคราะห์ความต้องการขององค์กรอีกครั้ง
 ระเบียบวิธีที่ใช้เพื่อช่วยในการวางแผน IT  
  • The business system planning (BSP) model
  • Stages of IT Growth Model
  • Critical success factors (CSFs)
  • Scenario planning
 
 The business system planning (BSP) model
          ถูกพัฒนาโดย IBM   โดยมี 2 หลักคือ  เริ่มจากทำความเข้าใจว่าองค์กรต้องทำอะไรบ้าง(Business Process)  จึงสามารถรู้ว่าต้องใช้ข้อมูลอะไร(Data classes)  ทั้งนี้วิธีนี้เน้นการมองเป็นภาพรวมขององค์กร  ไม่ได้มองแยกเป็นแผนก  ดูว่าระบบนี้สามารถรองรับการส่งผ่านข้อมูลไปในแต่ละแผนกได้

  • ข้อดี  
  1. เข้าใจภาพรวมขององค์กร  และระบบ
  2. เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นใหม่และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
  • ข้อเสีย
  1. ใช้เวลามากในการทำ
  2. สร้างข้อูมูลจำนวนมากและใช้งบประมาณมากและยากในการวิเคราะห์
  3. ค่อนข้างเน้นไปทางข้อมูลที่มีอยู่  ไม่เน้นถึงอนาคตมากนัก
 Critical Success Factors (CSF)
       เป็นการกำหนดประเด็นที่ทำให้องค์กรอยู่รอดและประสบความสำเร็จ  โดยเน้นไปที่การสัมภาษณ์ผู้บริหาร  รวมรวบข้อมูลความเห็นของแต่ละคน  จากนั้นจึงวิเคราะห์สังเคราะห์ออกมา  และกำหนดเป็น database ขององค์กร 
  • ข้อดี
  1. มีจำนวนข้อมูลไม่มากในการวิเคราะห์
  2. ได้นำเรื่องการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมมาในการวิเคราะห์
  3. สามารถเน้นไปที่อนาคตขององค์กร
  • ข้อเสีย
  1.  เน้นฝึมือของผู้ทำการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์
  2. เป็นการยากในการแยกความเห็นในฐานะความเห็นส่วนตัว กับความเห็นทางตำแหน่ง

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

Enterprise system,Supply chain management, ERP -5202112685

           ระบบสารสนเทศส่วนใหญ่ จะเป็น Functional Information System ซึ่งอาจจะเกิดจากองค์กรสร้างระบบเอง หรือไปซื้อระบบสำเร็จรูป เพื่อใช้ในงานประเภทต่างๆขององค์กร ทั้งนี้ ระบบ Functional Information System มีข้อเสีย คือ ขาดการเชื่อมต่อระหว่างระบบ ซึ่งเป็นลักษณะของ ERP แต่สาเหตุที่ ERP ไม่ได้ถูกใช้แพร่หลายในองค์กรต่างๆ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการลงทุน หรือ ซื้อระบบ สูงมาก
            หากระบบไม่มีการวางแผนให้แต่ละแผนก สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างสะดวก ย่อมทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในองค์กรได้ยาก การทำงานต่างๆ อาจประสบปัญหาได้ เช่น ผู้จัดการไม่ทราบภาพรวมของการทำงาน, เซลล์ไม่ทราบว่าขณะที่รับ order สินค้ามีอยู่ใน stock หรือไม่, ลูกค้าไม่สามารถ track ได้ว่าสินค้าของตนเองขนส่งถึงจุดไหนแล้ว , ฝ่ายผลิตไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับฝ่ายการเงินได้ว่าจะวางแผนการผลิตอย่างไร เป็นต้น 


 Enterprisewide System : ตัวอย่างเช่น

  • ERP
  • CRM
  • Knowledge management
  • Supply Chain Management
  • Decission Support System
  • Intelligent System
  • Business Intelligence
  • OLAP,analytics, data mining, Business performance management ans text mining
Supply Chain Management  ตัวอย่าง
  • Warehouse Management System คือการบริหารในการจัดเก็บ  ให้ใช้พื้นที่ให้ได้มากที่สุด  ควรจัดวางอย่างไรเพื่อให้สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
  • Inventory Management System เป็นการบริหารสินค้าคงเหลือ
  • Fleet Management system  ใช้บริหารจัดการกับชั้นตอนการจัดส่งสินค้า  เช่น  ดูว่าของที่จะลงจากรถบรรทุก  ต้องส่งที่ไหน  ดูว่าเอาของลงเท่าไร  เหลือของเท่าไร  ในแต่ละจุด  จะได้รู้ว่าของส่งถึงแล้ว
  • Vehicle Routing and Planning เพื่อให้รู้เส้นทางในการขนส่งเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ  ประหยัดพลังงาน
  • Vehicle Based System เป็นการบอกว่ารถที่ขนส่งถึงไหนแล้ว  โดยมี GPS บอกว่าอยู่จุดใดแล้ว 
10 Trend สำหรับ IT
  1. Connectivity  เช่น Wireless, Bluetooth, GPRS
  2. Advanced Wireless : Voice & GPS  เป็นการสื่อสารด้วยเสียงและจีพีเอสเชื่อมรวมไปยังคอมพิวเตอร์ที่มีความทนทาน  โดยการเชื่อมรวมการติดต่อเข้าด้วยกันยังคงดำเนินต่อไปด้วยการนำระบบสื่อสารจีพีเอสมาใช้กับความพิวเตอร์เคบื่อนที่  เช่น ในรุ่น CN3 ของบริษัทอนเตอร์แมค  ประกอบไปด้วยระบบเสียงและข้มูลไร้สายครอบคลุมพื้นที่กว้างไกล  เชื่อต่อด้วย 802.11  บลูทูธและจีพีเอส  ทั้งหมดบรรจุอยู่ในเครื่องขนาดเล็กพกพาได้
  3. Speech Recognition เป็นการสั่งงานด้วยเสียง  ใช้สำหรับด้านซัพพลายเชน  คือ  การสั่งงานด้วยเสียงพูดสำหรับการป้อนข้อมูลแบบแฮนด์ฟรี  และสามารถนำไปใช้ช่วยระบบการผลิตได้  
  4. Digital Imaging การประมวลผลภาพดิจิตอล   พวกบริษัทชนส่งและกระจายสินค้าใช้กล้องดิจิตอลเชื่อมรวมกับคอมพิวเตอร์แบบพกพา
  5. Portable Printing การพิมพ์แบบเคลื่อนที่
  6. 2D & other barcoding advances  ความก้าวหน้าของระบบบาร์โค้ด 2 มิติ  และระบบบาร์โค้ดอื่นๆ
  7. RFID
  8. Real time location system  ระบบแสดงตำแหน่งในเวลาจริง  ทำให้สามารถขยายเครือข่ายแลนไร้สายขององค์กรเข้าสู่ระบบการติดตามสินทรัพย์
  9. Remote Management  การจัดการทางไกล  เป็นการใช้ระบบแลนไร้สายเพื่อติดตามสินทรัพย์ของคลังสินค้าและโรงงานเป็นตัวอย่างการปรับใช้ทรัพยกรไอทีให้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม  
  10. Security  ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย
  •  Supply Chain Management and Its business value  
   เช่น Wallmart ที่ supplier จะได้ัรับการแชร์ข้อมูลจากตัว Wallmart เพื่อให้รู้ว่าสินค้าตัวใดหมด  ตัวใดขายดี

  • Collaborative Planning ถ้ามีระบบซัพพลายเชนที่ดีจะสามารถเตรียมการได้  ดูการพยากรณ์ เตรียมการผลิต  ราคาที่จะขาย  ลดการเก็บสินค้าคงเหลือ  เป็นการเพิ่มการตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้า

  • Vendor Managed Inventory  ลดค่า warehouse 

Enterprise Resourse Planning System  (ERP)
           เป็นการเชื่อมประสานงานทั่วทั้งองค์กร  ระหว่างแผนกต่างๆ  แชร์ข้อมูล  และสามารถเอาข้อมูลต่างๆที่ได้เก็บในฐานข้อมูล  และประมวลต่อเพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ของสารสนเทศ
            ตัวอย่าง ERP system vendors เช่น  SAP,  Oracle,  PeopleSoft,  F.D.Edwards,  Sage Group  เป็นต้น

Major ERP Modules  
Sales and Distribution 
  • Records customer orders
  • Shipping
  • Billing
  • Connections to materials management module , Financial accounting module, Controlling module 
Human resources  ทั้งการจัดหา  การจ่ายเงินเดือน  การเทรน  
Thrid-Party Modules  เช่น
  • CRM
  • SCM (Supply chain management)
  • PLM (Product lifecycle management)  
Presentation 
  • Augmented Reality  คือการพัฒนาเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Reality) และความเสมือนจริง (Virtual) เข้าด้วยกัน ผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น Webcam, Computer, Cloud Computing หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภาพเสมือนจริงนั้นจะแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์บน Monitor  โดยภาพเสมือนจริงที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้ชมได้ทันที อาจมีลักษณะทั้งที่เป็นภาพนิ่งสามมิติ, ภาพเคลื่อนไหว หรืออาจจะเป็นสื่อที่มีเสียงประกอบ  ตัวอย่างเช่น  บริษัท ชิเชโด้ นำเทคโนโลยีภาพเสมือนจริงมาใช้ผ่านกระจกติจิตอลเพื่อจำลองการทดสอบในการแต่งหน้าว่าเหมาะกับลูกค้าหรือไม่
  •  Video Telepresence คือ เทคโนโลยีที่พัฒนามาจากระบบวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นในปีค.ศ.1960 และเริ่มใช้งานจริงในปีค.ศ.1980 ซึ่งโดยหลักการแล้ว เทเลพรีเซ็นส์ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานเดียวกับวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ แต่มีความต่างขององค์ประกอบของระบบที่ชัดเจน 3 ด้าน คือ network technologies, conference hardware, conference software ซึ่งเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ากว่าทำให้เท เลพรีเซ็นส์ให้ภาพที่สมจริงกว่า อรรถประโยชน์ที่สูงกว่า และการติดตั้งต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมการใช้งานที่เหนือกว่าวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์
  • SOA ( Service-oriented Architecture)  หมายถึง แนวคิดการออกแบบและวางโครงสร้างของซอฟต์แวร์ขององค์กรขนาดใหญ่ในลักษณะที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถหยิบเอาเฉพาะเซอร์วิส (Service) ที่ ต้องการซึ่งเป็นองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ มารวมกันเป็นแอพพลิเคชันใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างได้อย่าง ยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตามหลักการของการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability)  

    วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

    Data management (con.) and Business Intelligence 5202112685

     5202112685
    Data Warehouse Process
    1. เริ่มจากการสร้าง Meta data เพื่อเป็นการบอกว่ารายละเอียดของข้อมูลที่นำมาจากทั้ง Operational data และ External data  เช่น  บอกว่าข้อมูลที่นำมานำมากี่ Attribute, ปรับเปลี่ยนข้อมูลอย่างไรบ้าง,  เอา้ข้อมูลมาจากแหล่งใด, สรุปข้อมูลอย่างไร
    2. Data staging   ได้แก่ Extract  Clean  Transform  Load
    3. Data warehouse business subject  จะประกอบด้วย Data cube หลายๆอัน  เพื่อกำหนดเ้ค้าโครง
    4. Business Views  โดยนำ upload ขึ้นใช้งานบน web ในรูปแบบ Dashboard เพื่อให้ผู้บริหารสามารถใ้ช้งานได้
     Data Mart
             ในองค์กรที่มีผู้ใช้ข้อมูลจำนวนมาก  การที่จะให้ผู้ใช้งานข้อมูลทุกคนเข้าใช้งานโดยตรงจาก Enterprise data warehouse อาจทำให้เกิดปัญหากับระบบได้  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้าง Data martไว้สำหรับใช้ในแต่ละแผนก
            โดยที่ Data mart จะเป็นการตัดแบ่งข้อมูล / คัดลอกเฉพาะบางส่วนของ Data warehouse มาไว้ที่ Data mart  ในมุมมองของผู้ใช้  ดังน้นในแต่ละแผนกจะสร้าง Data mart ไว้เป็นของแผนกเอง
             Data mart แบ่งออกเป็น 2 ประเภท  ได้แก่
    1. Replicated (dependent) data marts เป็นdata mart ที่เกิดจากการคัดลอกบางส่วนมาจาก Data warehouse
    2. Stand-alone data marts  เป็นdata mart ที่เกิดจากแต่ละแผนก  โดยที่องค์กรยังไม่ได้สร้าง Enterprise data warehouse ไว้  ในแต่ละแผนกที่พร้อมแล้วจึงทำการสร้าง data mart  ของตนเองไว้ก่อน เพื่อพร้อมแล้วจึงค่อยนำ data martมารวมกันสร้างเป็น data warehouse
    Data Cube
      ในบางครั้งเรียกว่า OLAP   เป็นฐานข้อมูลที่มีหลายมิติ  และแต่ละมิติมีความสัมพันธ์กัน  โดยการที่ทำให้เป็น Data cube มีประโยชน์ที่ ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ในหลายมิติ  รวมถึงการ Rollups & Drill downs

    Business Intelligence
      คือการนำ architectures, tools, database, application และ methodologies มารวมกัน
    โดยมีกระบวนการ transform ข้อมูลดิบ ไปสู่ข้อมูลเพื่อให้สามารถนำไปตัดสินใจได้ และนำไปสู่การปฎิบัติจริง  ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูล  และจัดการข้อมูล  เพื่อให้เหมาะสมในการนำไปใช้ในการวิเคราะห์ได้
                  
    Business intelligence มี function และ feature แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม  ได้แก่ 
    1. Data integration eg. ETL, EII
    2. Analytics eg. Predictive analytics , Data mining, OLAP
    3. Reporting and Analysis eg. Scorecards, Dashboards, Visualization tools
    •  Dashboard and Scorecards   เป็นส่วนที่่ช่วยในการวัด Performance  ดังนั้นผู้ใช้จึงอยู่ในระดับผู้บริหาร  
             Performance Dashboard  จะเ็ป็นตัวช่วยทำให้เห็นภาพ  และควบคุมในการวัด Performance
             Performance Scorecards  จะเ็ป็นตัวช่วยทำให้เห็นภาพ  ทำให้เห็นเป็น chart progress เทียบกับ strategic , tactical , goal และ target 

    • Online Analytical Procesing (OLTP)  เป็น Software ที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว  สม่ำเสมอ  และสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูล  เช่น  จากตารางเป็นกราฟ  ทำให้ผู้บริหารสามารถดึงข้อมูลที่ตนเองต้องการได้
    • Data mining   คือการ Extract ข้อมูลที่ไม่เคยรู้มาก่อนจาก database  ขนาดใหญ่  และ้ต้องทำกับข้อมูลจำนวนมากเพื่อขจัด bias  ช่วยทำให้เห็นภาพ trend / pattern ได้ ทั้งนี้ประโยชน์จะมากหรือน้อยขึ้นกับความสามารถในการตีความ
                    Yield from data mining
    • Clustering
    • Classification
    • Association
    • Sequence discovert
    • Prediction

    • Text mining  เป็นการจัดการกับข้อมูลประเภท nonstructured เ่่ช่น  ข้อมูลติชมของลูกค้า  โดยจะจัดความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ  ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน 

    วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

    Data management

    • ระบบสารสนเทศ  :  เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาประมวลผล  วิเคราะห์  เพื่อสร้างสารสนเทศสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน  และนำเสนอสารสนเทศให้กับผู้ที่ต้องการ  ซึ่งต้องเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับสารสนเทศ  รวมทั้งการจัดเก็บ  บันทึกข้อมูลที่นำเ้ามาสู่ระบบไว้เพื่อการใช้งานในอนาคต
              ตัวอย่างระบบสารสนเทศได้แก่ Amazon ที่ให้ลูกค้าป้อน Input เกี่ยวกับสินค้าที่ต้องการ ผ่านการประมวลผลจากทางเว็บไซต์  จากนั้นจึงได้output ออกมา 

    องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ  ได้แก่
    1.  Hardware
    2. Software
    3. Data
    4. Network
    5. Procedure
    6. People 
    ปัญหาในการจัดการข้อมูล
    • จำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
    • ข้อมูลกระจัดกระจายทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
    • ความจำเป็นของการใช้ข้อมูลจากภายนอกเืพื่อใช้ในการตัดสินใจ
    • ประเด็นด้านความปลอดภัย  คุณภาพ  เป็นประเด็นที่มีความสำคัญ
    • การเลือกเครื่องมือในการจัดการข้อมูลถือเป็นปัญหาสำคัญ
    องค์ประกอบของ Data Management
    • Data profiling
    • Data quality management
    • Data integration
    • Data augmentation
     Data Life Cycle Process
    1. เก็บรวบรวมข้อมูล
    2. เก็บข้อมูลไว้ใน Database เป็นการชั่วคราว  จากนั้นจึงทำการผ่านกระบวนการเพื่อจัดเก็บข้อมูลไว้ใน Data warehouse
    3. ผู้ใช้เข้ามาดึงข้อมูลใน Data warehouse เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์
    4. วิเคราะห์  
     Data Processing
    • Transactional  
    ข้อมูลใน Transaction Processing System (TPS) จะถูกจัดการเป็นลำดับขั้น และถูกจัดการโดยส่วนกลา



    • Analytical
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์  เช่น OLAP  EIS DSS 
    การดึงข้อมูลมาจาก Database อาจทำให้ระบบ TPS ทำงานล่าช้า  เนื่องจาก Database ขึ้นอยู่กับ TPS ดังนั้นองค์กรจึงสร้าง Data warehouseเพื่อแยก Operational process และ Analytical process ออกจากกัน

    Characteristics of Data Warehouses
    1. Organization  ข้อมูลจะถูกจัดการโดย subject
    2. Consistency  ข้อมูลจะให้ Code แบบเดียวกัน
    3. Time variant  
    4. Non-volatile ข้อมูลใน Data Warehouses จะไม่มีการแก้ไข  แต่จะมีแต่การเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ลงไป
    5. Relational
    6. Client/Server
    ความเหมาะสมขององค์กรในการใช้Data Warehouses

    • เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลเป็นจำนวนมากที่ End user ต้องการใช้
    • Operational data ถูกจัดเก็บในหลายระบบ
    • มีจำนวนลูกค้าจำนวนมาก และหลากหลา่ย
    • ข้อมูลเดียวกันถูกแสดงแตกต่างกันในระบบที่ต่างกันออกไป