วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Justifying investment in IT 5202112685

ปัญหาที่เกิดจากการประเมินว่าควรที่ลงทุนใน IT หรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งเกิดจาก Productivity Paradox
  1. ยากในการวัดว่าผลที่ได้คือเท่าไร เช่น ในบางครั้งผลออกมาเป็น Intangible benefit ได้แก่ ความพึงพอใจของลูกค้า ความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น
  2. การนำ IT มาใช้อาจทำให้เกิด Productivity เพิ่มขึ้นในแผนกหนึ่ง แต่อาจไปลดอีกแผนกหนึ่ง
  3. Productivity เพิ่มขึ้น อาจมองเห็นได้ไม่ชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนการทำ IT
  4. ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าที่จะเห็นผล
  5. ในบางครั้งอาจมีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้มาเกี่ยวข้อง เช่น ข้อกฎหมาย ทำให้การใช้จริงไม่เหมือนกับที่ได้วางแผนไว้

หลักการประเมินการลงทุนใน IT
ควรที่จะประเมินในทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ ระดับบริษัท อุตสาหกรรม และระดับประเทศ และทำการประเมินอย่างสม่ำเสมอ

กระบวนการประเมินการลงทุนใน IT
  1. สร้างรากฐานในการวิเคราะห์ และจัดทำ ROI
  2. สร้างมาตรวัด
  3. จัดทำเอกสารวิเคราะห์หาต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับ
  4. จัดทำเอกสารและตรวจทานการวิเคราะห์ รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่การนำ IT มาปฏิบัติอาจไม่เป็นไปตามแผน เช่น เวลา งบประมาณ เป็นต้น

Cost-Benefit Analysis
  • ต้นทุน ได้แก่ Development costs, Set up costs, Operational costs
  • ผลประโยชน์ ได้แก่ Direct benefits (ประเมินเป็นตัวเงินได้), Assessable indirect benefits, Intangible benefits (เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า)

Cost-Benefit Evaluation Technique
 Net profit
  • ข้อดี คำนวณง่าย
  • ข้อเสีย ไม่คำนึงถึง Time value of money
 Payback period
  • ข้อดี คำนวณง่าย
  • ข้อเสีย ไม่คำนึงถึงกระแสเงินสดที่เกิดหลังจากจุดคืนทุน

Return on investment
  • ข้อดี คำนวณง่าย และคุ้นเคย
  • ข้อเสีย ไม่คำนึงถึง Time value of money

Net present value
  • ข้อดี คำนึงถึงกระแสเงินสดทุกช่วงเวลา และคำนึงถึง Time value of money
  • ข้อเสีย ยากในการเปรียบเทียบสำหรับโครงการลงทุนที่มีขนาดและอายุโครงการที่แตกต่างกัน

Interest rate of return
  • ข้อดี คำนึงถึงกระแสเงินสดทุกช่วงเวลา และคำนึงถึง Time value of money
  • ข้อเสีย มีข้อสมมติฐานให้ Reinvestment rate อยู่ที่อัตราเดียวกัน

Advanced Methods for justifying IT investment
  • Financial คำนึงถึงเพียงในรูปของตัวเลข เช่น ROI NPV
  • Multi-criteria คำนึงทั้งในรูปตัวเงิน และไม่ใช่ตัวเงิน
  • Ratio
  • Portfolio ตัดสินใจในองค์รวม เช่น ในโครงการที่มีอายุอยู่ใน Time line เดียวกัน เป็นต้น
ตัวอย่างวิธีที่ใช้กัน เช่น TCO, Balanced scorecard method, E-Procurement Metrics เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น